UI GREEN METRIC - การศึกษา (Education)

  • รายวิชาที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environment and Sustainability course)
    วภวธ ๕๗๒     การพัฒนาที่ยั่งยืน
    LCCS 572      Sustainable Development

    แนวคิด หลักการ ความเป็นมาของการพัฒนาที่ยั่งยืน วิธีการดำเนินงาน การบริหารจัดการ และวิธีการในการพัฒนาที่ยั่งยืนให้ประสาน สอดคล้องกับลักษณะทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของท้องถิ่น โดยทำการวิจัยระดับสังคมในหลากหลายพื้นที่
    Principles, concepts and origin of sustainable development, process, administrations and methods that compatible with locally available natural resources, environment and economic characteristics.  Investigating contemporary social and cultural features by exploring field researches in different areas.
         
  • ผลงานตีพิมพ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน (Publication for Environment and Sustainability)

    หนังสือเรื่อง "แหลมใหญ่ : การพลิกฟื้นวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากร"
    (พรทิพย์ อุศุภรัตน์, อภิญญา บัวสรวง, เสาวภา พรสิริพงษ์, เบญจวรรณ เตชะเสน)
       

     

    เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยการพลิกฟื้นวัฒนธรรม และการจัดการความรู้ของชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง ภายใต้เครือข่ายการวิจัยบูรณาการลุ่มน้ำท่าจีน – แม่กลอง ของมหาวิทยาลัย มหิดล ที่ส่งเสริมให้มีการดำเนินงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-based) ลุ่มน้ำท่าจีนและแม่กลอง โดยเน้นการศึกษาแบบสหสาขาวิชา (Interdisciplinary) และสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างนักวิจัยและชุมชน

     

    โครงการวิจัยนี้ได้คัดเลือกตำบลแหลมใหญ่ ชุมชนปากอ่าวแม่กลอง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เป็นพื้นที่วิจัย ใช้เวลาดำเนินงานเป็นเวลา 6 ปี แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะต้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545–2549 และระยะที่ 2 ในปี พ.ศ. 2551 วัตถุประสงค์สำคัญในการวิจัยนี้ มุ่งหวังใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมศึกษาชุมชน อันจะทำให้เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างทีมวิจัยและชุมชน


    Book: "Lamyai: The Recovery of the Community Culture for Resources Management"
    (Research team: Pornthip Usupharat, Apinya Buasuang, Saowapa Pornsiripong, Benjawan Tejasen)

    This publication is part of the research project on the recovery of community culture and knowledge management of local communities along Mae-Klong River under the integrative university research project of Tha-Jeen and Mae-Klong Rivers for the promotion of Area-Based research. This is an interdisciplinary research that promotes community engagement between the research team and the community.

    This research project selected Mae-Klong estuary community in the sub-district of Lamyai, Muang District, Samut Sakhorn Province as a research site. The duration of this research project consists of two phases in 6 years: the first phase is from 2002-2006 and the second phase in 2008. Key research objectives focus on the process of participatory research that engages community to create the mutual learning community between the research community and the community.

         
  • บทความ "แหล่งการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง (บ้านคลองสองร่อง) : โจทย์ร่วมระหว่างทีมวิจัยและชุมชน"
    อภิญญา บัวสรวง

    บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง การศึกษาการเปลี่ยนแปลง การธำรงอยู่และการพลิกฟื้นวัฒนธรรมชุมชนลุ่มน้ำแม่กลอง โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงปัจจัยแวดล้อม การจัดตั้งและแนวทางดำเนินงานของแหล่งการเรียนรู้ที่บ้านคลองสองร่อง ตำบลแหลมใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม

    ผลการศึกษาพบว่า วิถีชีวิตของชุมชน ที่ตั้งถิ่นฐานในป่าชายเลนริมฝั่งแม่น้ำแม่กลองนั้นสามารถบูรณาการเป็นองค์ความรู้ได้หลายสาขา การดำเนินงานของแหล่งการเรียนรู้ต้องอาศัยความรู้และความเข้าใจของชุมชนเป็นหลัก โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานคือ การพยายามค้นหาสิ่งที่มีคุณค่าที่มีอยู่ในชุมชนให้พบ การคิดฝันและจินตนาการร่วมกัน เพื่อการดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม และการมุ่งมั่นปฏิบัติงานได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยให้เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา

    Article: "Learning Center on Ways of Lives at Mae-Klong River Basin Community (Ban Klong Song Rong): Mutual Problem of the Research Team and the Community"
    Researcher: Apinya Buasuang

    This article is part of the research project on the study of change, maintenance, and recovery of Community Culture along Mae-Klong River. This research aims to study environmental factors, the settlement, and approaches of the learning center at Ban Klong Song Rong, Lamyai Sub-district, Muang District, Samut Songkram Province.

    The findings suggest that community way of life and the settlement located along the Mae-Klong River mangrove forest can be integrated into the interdisciplinary knowledge. The management of the learning center mainly depends on the knowledge and understanding from the community. The management process includes the search for the community values, the mutual imagination for the effective management, the appropriate design of the learning center, and the determination for the expected plans and goals by balancing between the preservation and development.


 
สงวนลิขสิทธิ์ © 2557 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013 Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University. All Rights Reserved.