นโยบายการอนุรักษ์พลังงานสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย (Policy)

  1. การอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของสถาบันฯ เพื่อให้เป็นไปข้อตามกำหนดของมหาวิทยาลัยมหิดล และข้อกำหนดอื่นๆ ตามกฏหมาย
  2. การอนุรักษ์พลังงานให้ถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บริหารทุกระดับ บุคลากรและนักศึกษาทุกคน ที่จะต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดขึ้นโดยคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานของสถาบันฯ
  3. สถาบันฯ จะสนับสนุนการดำเนินงานด้านต่างๆ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมทั้งขยะของเสียและมลพิษอื่นๆ จากกิจกรรมการทำงาน
  4. สถาบันฯ จะสนับสนุนการดำเนินการตามมาตรการ และแผนงานการอนุรักษ์พลังงานต่างๆ อย่างจริงจังเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้จะไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานใดๆ ตามภารกิจหลักของสถาบันฯ หากมาตรการใดส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถาบันฯ จะมีการทบทวน และอาจได้รับการยกเว้นเป็นกรณีไป
  5. ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสร้างจิตสำนึกในการร่วมอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืนแก่บุคลากร นักศึกษา โดยให้ยึดถือเป็นวัฒนธรรมขององค์กร ในการลดการใช้พลังงานต่างๆ
  6. นำผลการประเมินการอนุรักษ์พลังงานกลับมาทบทวนและปรับปรุง นโยบาย เป้าหมาย มาตรการ และแผนการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงานเป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
 

มาตรการอนุรักษ์พลังงาน สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. การรณรงค์และประเมินผลมาตรการอนุรักษ์พลังงานในภาพรวม
    • รณรงค์การอนุรักษ์พลังงาน
      • ประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างค่านิยม และความตระหนักในการใช้พลังงานอย่างประหยัด
    • ติดตามประเมินผลมาตรการประหยัดพลังงานเป็นระยะๆ
      • ประเมินผลปริมาณการใช้พลังงาน/ค่าใช้จ่ายทุกเดือน
      • นำเสนอข้อมูลเชิงเปรียบเทียบรายเดือน
      • ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันฯ
  2. ด้านไฟฟ้า
    • ใช้ไฟฟ้าตามความจำเป็น
      • หากไม่อยู่ในห้องทำงานเกิน 30 นาที ควรปิดไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ รวมถึงห้องคอมพิวเตอร์อาจารย์ และห้องพักนักศึกษาด้วย
      • ควรลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ช่วงเช้าควรเปิดเวลา 9.00 น. – 11.30 น. และช่วงบ่ายเปิดเวลา 13.00 - 16.00 น. ยกเว้นมีความจำเป็น อาทิ มีการเรียนการสอน ประชุม ก็สามารถเปิดได้ก่อนและปิดหลังเวลาที่กำหนด ตามความเหมาะสม (ข้อนี้ขอประเมินผล 3 เดือน หากไม่ได้ตามเป้าหมาย อาจขอให้มีการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศจากส่วนกลางตามช่วงเวลาที่กำหนด)
      • ควรเปิดเครื่องปรับอากาศที่อุณหภูมิ 25 °c
      • ปิดไฟฟ้าและพัดลมระบายอากาศในห้องน้ำทุกครั้งเมื่อออกจากห้องน้ำ
      • พื้นที่ส่วนกลางจะเปิดไฟฟ้าแสงสว่างเท่าที่จำเป็น โดยจะเปิดในจุดสำคัญๆ หรือจุดที่เป็นมุมมืด และในกรณีที่มีความจำเป็นสามารถเปิดไฟฟ้าได้ตามความเหมาะสม
      • เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นแบบประหยัดพลังงาน
      • ลดหลอดไฟฟ้าภายในห้องหรือบริเวณที่มีแสงสว่างเกินไป
      • ปิดเครื่องทำน้ำเย็น และกระติกน้ำร้อน หลังเลิกงาน
    • เปลี่ยนประเภทการใช้ไฟฟ้า และปรับปรุงระบบลิฟต์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็นค่าใช้จ่ายสถาบันฯ ให้ลดลง
      • ติดตั้งหลอดไฟแบบสายชักที่สามารถเปิดได้ทีละดวง (เฉพาะห้องทำงานรวม และห้องพักอาจารย์ที่ต้องการติดตั้ง) แทนระบบเดิมที่สว่างพร้อมกันทุกหลอด
      • ปรับพัดลมดูดอากาศในห้องทำงานให้สามารถควบคุมการเปิด-ปิดเองได้
    • ลดการใช้ลิฟต์
      • ลดการใช้ลิฟต์ โดยจะเปิดใช้ลิฟต์ 1 ตัว สลับกันทีละสัปดาห์
    • ติดตาม ตรวจสอบเครื่องปรับอากาศ และลิฟต์อยู่เสมอ
      • ล้างเครื่องปรับอากาศ (ทั้งระบบ) ปีละ 1 ครั้ง
      • ตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศตามระยะเวลาที่กำหนด
      • หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาลิฟต์ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยให้เจ้าของห้องหรือผู้แทนรับทราบด้วย
    • ใช้คอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ
      • เมื่อไม่ใช้คอมพิวเตอร์เกิน 15 นาที ควรปิดหน้าจอ ทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์สถาบันฯ และคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
      • ไม่ควรใช้คอมพิวเตอร์ในงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน
    • สนับสนุนการประหยัดพลังงานในรูปแบบต่างๆ
      • เปิดหน้าต่างรอบๆ อาคารฯ เพื่อให้อากาศมีการถ่ายเท
      • ขอความร่วมมือปฏิบัติตามประกาศในการเปิด-ปิดอาคาร คือ เปิด 6.00 น. และปิด 18.30 น. หากท่านใดมีความจำเป็นต้องทำงานอยู่เลยเวลาที่กำหนด ขอให้แจ้งหน่วยรักษาความปลอดภัยทราบก่อนเวลาปิดตึก กรณีมีความจำเป็นต้องมาทำงานในวันเสาร์อาทิตย์ กรุณาแจ้งล่วงหน้าภายในวันศุกร์
    • ติดตามประเมินผลการใช้ไฟฟ้าสม่ำเสมอ
      • รายงานปริมาณการใช้/ค่าใช้จ่ายไฟฟ้าทุกเดือน และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
  3. ด้านน้ำประปา
    • ใช้น้ำประปาเท่าที่จำเป็น
      • ใช้น้ำประปาเท่าที่จำเป็น ไม่เปิดน้ำทิ้ง
      • ช่วยกันดูแลห้องน้ำ หากพบน้ำประปาไหลอยู่ ช่วยกันปิดให้สนิท หรือแจ้งหน่วยซ่อมบำรุงโดยเร็ว
    • ดูแลรักษาอุปกรณ์/ห้องน้ำให้อยู่ในสภาพปรกติ
      • หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์/ห้องน้ำให้อยู่ในสภาพปรกติและพร้อมใช้งานอยู่เสมอ หากพบว่าชำรุด ขอให้แจ้งมาที่หน่วยซ่อมบำรุงโดยตรง หรือแม่บ้าน (แม่บ้านตรวจสอบความเรียบร้อยของห้องน้ำและจัดส่งรายงานทุกวัน)
      • ปรับระบบการซ่อมแซมอุปกรณ์/ห้องน้ำให้มีประสิทธิภาพ และรวดเร็วยิ่งขึ้น อาทิ มีสายด่วนที่สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้ทันที
    • ติดตามประเมินผลการใช้น้ำประปาสม่ำเสมอ
      • รายงานปริมาณการใช้/ค่าใช้จ่ายน้ำประปาทุกเดือน และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
  4. ด้านน้ำมัน
    • ใช้รถสถาบันฯ ในกิจกรรมที่จำเป็น
      • งดรถรับส่งบุคลากรในรอบเช้า
      • บริหารจัดการในการจัดส่งบุคลากร อาจารย์พิเศษ/วิทยากรภายนอกอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น หากไปเส้นทางเดียวกัน ควรจัดให้ไปด้วยกัน
      • งดการให้บริการรถ สำหรับกรณีที่บุคลากรไปสอนหรือเป็นวิทยากรภายนอกโดยได้รับค่าตอบแทน
      • การขอใช้รถทุกครั้ง ขอให้แนบเอกสาร ที่เกี่ยวข้องทุกครั้ง อาทิ จดหมายเชิญประชุม คำสั่งมอบหมายงาน เป็นต้น กรณีผู้ขอใช้รถที่ไม่มีเอกสารแนบที่เกี่ยวข้องแนบมาให้ถือเป็นการขอเป็นกรณีพิเศษ ดังนี้
        (1) กรณีเป็นการเดินทางภายในมหาวิทยาลัยจะพิจารณาตามความจำเป็นเท่านั้น
        (2) กรณีเป็นการเดินทางภายนอกมหาวิทยาลัยในเวลาราชการ สถาบันฯ ของดการให้บริการ
        (3) กรณีเป็นการเดินทางภายนอกมหาวิทยาลัยนอกเวลาราชการ สถาบันฯ ขอพิจารณาตามความจำเป็น และขอคิดค่าบริการ กิโลเมตรละ 10 บาท
    • ขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสม และปลอดภัย
      • ขับรถด้วยความระมัดระวัง ในอัตราความเร็วที่เหมาะสม (ทางธรรมดา ไม่เกิน 90 กม./ชม. ทางด่วน ไม่เกิน 110 กม./ชม. ทางด่วนมอเตอร์เวย์ ไม่เกิน 120 กม./ชม.
    • ตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ
      • มีการตรวจสอบสภาพรถทุกครั้งก่อนใช้งาน และรายงานผลการตรวจเช็คสภาพเครื่องยนต์ทุกเดือน
    • ติดตามประเมินผลการใช้น้ำมันสม่ำเสมอ
      • รายงานปริมาณการใช้/ค่าใช้จ่ายน้ำมัน จำแนกตามประเภทการใช้ทุกเดือน และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
  5. ด้านกระดาษ
    • ลดการใช้กระดาษ
      • สนับสนุนให้ใช้กระดาษ 2 หน้า หรือ กระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า ในการปฏิบัติงาน อาทิ จดหมายเชิญประชุม เอกสารประกอบการประชุม เป็นต้น ยกเว้นเอกสารสำคัญ/เอกสารที่ต้องส่งไปภายนอกสถาบันฯ
      • การสั่งถ่ายเอกสาร ขอให้ระบุจำนวนชุดตามความจำเป็น ไม่ควรสั่งถ่ายเอกสารเผื่อมากเกินไป
      • จัดหาสถานที่สำหรับแจกจ่ายกระดาษที่ใช้แล้ว 1 หน้า (หน้าห้องถ่ายเอกสาร)
    • ติดตามประเมินผลการใช้กระดาษ
      • รายงานปริมาณการใช้/ค่าใช้จ่ายกระดาษทุกเดือน และประกาศให้ทราบโดยทั่วกัน
 
มาตรการประหยัดพลังงานของกระทรวงศึกษาธิการพร้อมรับวิกฤติด้านพลังงานไฟฟ้า ... Download : PDF
 
สงวนลิขสิทธิ์ © 2557 สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013 Research Institute for Languages and Cultures of Asia, Mahidol University. All Rights Reserved.